
1. Work-based Teaching คือ คณาจารย์เองเวลาทำการเรียนการสอนก็ไม่ใช่เปิดตำราอย่างเดียว ต้องนำเอาทฤษฎีองค์ความรู้ทางวิชาการไปผสมผสานทดสอบจริงในภาคปฏิบัติด้วย
2. Work-based Learning เกี่ยวพันกับตัวนักศึกษา คือ การเรียนในห้องเรียนแล้วก็ฝึกปฏิบัติงานอย่างเข้มข้น
3. Work-based Researching and Innovation ที่เกี่ยวพันกับนักวิจัย ไม่ว่าจะเป็นคณาจารย์หรือนักวิจัยที่เป็นบุคลากรของ PIM จะได้ทำการวิจัยที่สอดคล้องกับโลกแห่งความเป็นจริง เป็นงานวิจัยที่สามารถเอาไปใช้ประโยชน์ได้อย่างจริงจัง ขณะเดียวกันการทำให้ Work-based Education เป็นรูปธรรม มีเนื้อหาสาระที่เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น
4. (Networking) ทั้งกับสถาบันการศึกษา เครือข่ายกับภาคเอกชน แล้วข้อสำคัญก็คือการสร้างจิตวิญญาณของนักศึกษาของพีไอเอ็ม ภายใต้ Work-based Learning ร่วมกัน


“Work-based Education” คือ ปรัชญาการจัดการศึกษาที่เสริมสร้างอัตลักษณ์นักศึกษาของสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ และระบบการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ รวมทั้งการฝึกฝนทักษะต่าง ๆ ทั้งทักษะวิชาชีพ (Professional Skills) ทักษะทางสังคม (Social Skills) ทักษะชีวิต (Life Skills) และทักษะการคิด (Thinking Skills) เป็นต้น
สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์นำ Word-based Education มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน และมีการประเมินผลทั้งด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมทั้งนำผลประเมินมาปรับปรุงการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งสถาบันมีความมั่นใจว่า Word-based Education เป็นนวัตกรรมการศึกษา ดังนั้น ในปี 2559 จึงดำเนินการจดลิขสิทธิ์ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา ทั้งนี้ สถาบันมีความยินดีให้สถาบันการศึกษาอื่น ๆ สามารถนำ Word-based Education ไปประยุกต์ใช้ได้ตามความเหมาะสม

1. การสอนโดยมืออาชีพ (Work-based Teaching: WBT) คือ การจัดการเรียนการสอนในภาคทฤษฎีไม่ว่าจะเป็นการเรียนในห้องเรียนหรือห้องปฏิบัติการ (Onsite Classroom) หรือการเรียนระบบทางไกลหรือออนไลน์ผ่านสื่อออนไลน์ประเภทต่าง ๆ (Long-distance/Online Classroom) จะมีผู้สอนทั้งจากคณาจารย์ในคณะ และผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญจากสาขาต่าง ๆ ในภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ มาสอนร่วมกันเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ทั้งทฤษฎี และกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจริงในการทำงาน (Real Case Study) ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์หรือแก้ไขปัญหาในกรณีศึกษาต่าง ๆ ได้
นอกจากนี้ การเรียนรู้จากกรณีศึกษาก็เป็นการพัฒนาทักษะที่สำคัญ ได้แก่ ทักษะการคิด การพูด การฟัง การนำเสนอ และการทำงานเป็นทีม เป็นต้น ดังนั้น Work-based Teaching จึงเป็นอีกหนึ่งกระบวนการสำคัญที่ช่วยเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้เรียนก่อนไปฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ ซึ่งสอดคล้องกับคำว่า “LEARN TODAY, APPLY TODAY”
2. การเรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติงานจริง (Work-based Learning: WBL) คือ การศึกษาควบคู่การปฏิบัติเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง โดยในแต่ละปีการศึกษา ทุกหลักสูตรระดับปริญญาตรีของสถาบันจะได้ไปฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการจริง เพื่อเรียนรู้การนำความรู้จากห้องเรียนไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน ซึ่งคณะต่าง ๆ ได้นำหลักการ WBL นี้ไปประยุกต์และดำเนินการตามความเหมาะสมของบริบทของศาสตร์และวิชาชีพ ซึ่งสอดคล้องกับคำว่า “LEARN TODAY, PRACTICE TODAY”
การดำเนินงาน WBL นี้ ได้นำวงจรคุณภาพ PDCA (Plan-Do-Check-Act) มาใช้เพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง โดยมีการดำเนินงาน ดังนี้

3. การศึกษางานวิจัยจากปัญหาวิจัยจริง (Work-based Researching and Innovation: WBR)คือ การศึกษาวิจัยของคณาจารย์จากสถานการณ์จริงในองค์กร และนำผลวิจัยไปใช้ปฏิบัติได้โดยตรง รวมทั้งสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้จากการศึกษาวิจัยให้แก่ผู้เรียนได้ ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้กรณีศึกษาต่าง ๆ จากงานวิจัย และสามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์เพื่อสร้างนวัตกรรมในการแก้ไขปัญหาให้แก่องค์กรได้เมื่อผู้เรียนได้ไปฝึกปฏิบัติงาน ทั้งนี้ ยังเป็นการส่งเสริมให้คณาจารย์ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน และเพิ่มพูนความรู้ให้แก่ตนเองได้ ซึ่งกระบวนการนี้เสมือนเป็นแรงผลักดันให้เกิดการพัฒนาตนเองให้แก่คณาจารย์ และเป็นการส่งเสริมแนวคิดด้านนวัตกรรมให้แก่ผู้สอนและผู้เรียนควบคู่กันได้ อีกด้วย
นอกจากนี้ งานวิจัยและนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นจากโจทย์วิจัยของภาคธุรกิจสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งในด้านการแก้ปัญญหาให้แก่องค์กร หรือการพัฒนาศักยภาพขององค์กร อีกทั้ง คณาจารย์ก็สามารถนำองค์ความรู้จากการศึกษาวิจัยไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ และการสร้างนวัตกรรม ดังคำกล่าวว่า “RESEARCH TODAY FOR BETTER TOMORROW”
4. มหาวิทยาลัยแห่งการสร้างเครือข่าย (Networking University) คือ การสร้างเครือข่าย (Networking) ที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอน ซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาคเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ การสร้างเครือข่ายนับเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่ทำให้ Work-based Teaching, Work-based Learning และ Work-based Researching and Innovation ดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้ง ยังสนับสนุนการพัฒนาสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ให้เติบโตอย่างรวดเร็วและมั่นคง เพราะเครือข่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการถ่ายทอดองค์ความรู้ ประสบการณ์การเรียนรู้ และเป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน จึงทำให้สถาบันสามารถผลิตบัณฑิตที่ความเป็นมืออาชีพด้วยการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง และมีความโดดเด่นเป็นที่ประจักษ์ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ


