คณะมีจัดการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาการจัดการศึกษาของสถาบัน คือ “Work-based Education” ดังนี้
1. การสอนโดยมืออาชีพ (Work-based Teaching: WBT)
คณะจัดให้มีการเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎี ทั้งองค์ความรู้ในวิชาศึกษาทั่วไป และองค์ความรู้วิชาชีพวิศวกรรมศาสตร์ รวมทั้ง ให้ผู้เรียนได้รับเรียนรู้กรณีศึกษาจากกผู้ปฏิบัติงานจริงในองค์กร หรือผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้มีประสบการณ์จากภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับงานด้านวิศวกรรม
2. การเรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติงานจริง (Work-based Learning: WBL)
คณะจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติงานจริงอย่างมีแบบแผน คือ การกำหนดแผนในการฝึกปฏิบัติงาน ครูฝึก ระบบการติดตามและการประเมินการฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ โดยคณะมีวางแผนในการจัดการเรียนการสอนทั้งการเรียนรู้ในห้องเรียน และการฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการอย่างต่อเนื่อง หรือวางแผนให้สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการ ซึ่งการเรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติงานจริงทำให้ผู้เรียนสามารถบูรณาการความรู้ทั้งจากภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยนำเสนอโครงงานเพื่อแก้ปัญหาหรือเพิ่มศักยภาพในการดำเนินงานให้กับสถานประกอบการที่ไปฝึกปฏิบัติงาน หรือนำเสนอนวัตกรรม เป็นต้น โดยคณะมีการวางแผนการฝึกปฏิบัติงานให้แก่ผู้เรียน ดังนี้
คณะได้นำวงจรคุณภาพ PDCA มาใช้เป็นเครื่องมือในการปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบในการพัฒนาและแก้ไขปัญหา รวมทั้ง การปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ดังนี้
3. การศึกษางานวิจัยจากปัญหาวิจัยจริง (Work-based Researching and Innovation: WBR) คณะส่งเสริมให้คณาจารย์จัดทำงานวิจัยที่สามารถตอบสนองความต้องการของหน่วยงานทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนเพื่อให้คณาจารย์ได้มีโอกาสในการศึกษาและเพิ่มเติมองค์ความรู้ใหม่ ๆ เพราะองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน อีกทั้ง คณาจารย์ยังสามารถนำผลงานวิจัยไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนได้ อีกด้วย ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ทั้งทฤษฎี และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งด้านการฝึกปฏิบัติงาน และการจัดทำโครงงานหรือนวัตกรรม เป็นต้น
4.มหาวิทยาลัยแห่งการสร้างเครือข่าย (Networking Universit คณะให้ความสำคัญในการสร้างเครือข่าย เพราะเป็นการดำเนิงานที่สำคัญที่ทำให้การจัดการเรียนการสอนแบบ Work-based Education ประสบความสำเร็จ การสร้างความร่วมมือทางวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ เครือข่ายภาคการศึกษา (Education Network) และเครือข่ายภาคธุรกิจ (Business Network) ซึ่งทั้ง 2 กลุ่มนั้นจะเข้ามามีส่วนร่วมในการถ่ายทอดองค์ความรู้ ประสบการณ์การเรียนรู้ และเป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้มีโอกาสเรียนรู้จากประสบการณ์จริง ซึ่งคิดเป็น ร้อยละ 40-50 ของระยะเวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตร (4 ปี)